4
ภารกิจ

   โครงการชลประทานยะลา ปฏิบัติงานในฐานะ CEO กรมชลประทานประจำจังหวัดยะลา มีภารกิจรับผิดชอบดังนี้
  • จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำของจังหวัดยะลา
  • ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงการก่อสร้างของกรมชลประทาน และจังหวัดยะลา พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคให้กับราษฎร
  • ร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและองค์กรผู้ใช้น้ำบริหารจัดการน้ำ โครงการชลประทานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการป้องกันตนเองชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว
  • เป็นที่ปรึกษาด้านใช้น้ำและบำรุงรักษาสำหรับโครงการที่ได้ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว
  • จัดทำสถิติข้อมูลด้านอุตุ-อุทกวิทยา การเกษตรชลประทาน และฐานข้อมูลด้านแหล่งน้ำของจังหวัด
  • จัดหาเครื่องสูบน้ำงานป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยและช่วยเหลือภัยแล้ง
  • สนับสนุนภารกิจอื่นของจังหวัดยะลา

การบริหารจัดการน้ำชลประทาน

หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.)
  • เสนอขอสนับสนุนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามความต้องการของราษฎร
  • ร่วมกับชลประทานจังหวัดวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่รับผิดชอบ
  • ดูแลรักษาทรัพย์สินที่ได้รับการถ่ายโอนจากรมชลประทาน
  • จัดทำแผนสนับสนุนงบประมาณด้านซ่อมแซม ปรับปรุงสิ่งก่อสร้างที่ถ่ายโอนมาจากกรมชลประทาน
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและกิจกรรมของกลุ่มผู้ใช้น้ำ
หน้าที่ของกรมชลประทาน
  • พิจารณาความเหมาะสมและวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ร่วมกับผู้ร้องขอโครงการและผู้น้ำท้องถิ่น
  • ก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแผนที่ได้กำหนดไว้
  • ประชุมผู้ใช้น้ำชี้แจงวิธีการใช้น้ำและบำรุงรักษาระบบชลประทาน ของโครงการที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว
  • ส่งเสริมการใช้น้ำและพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำให้มีความเข้มแข็ง ปรับปรุงสิ่งก่อสร้างที่ถ่ายโอนมาจากกรมชลประทาน
  • เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้น้ำในด้านการใช้น้ำและการบำรุง
    รักษาระบบชลประทาน

หน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำ

  • เป็นตัวแทนของสมาชิกผู้ใช้น้ำในการประสานงานกับส่วน
    ราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ควบคุมการส่งน้ำและแบ่งปันน้ำให้กับสมาชิกอย่างเป็นธรรม
  • นำสมาชิกดูแลบำรุงรักษาระบบชลประทาน
  • ควบคุมการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม
  • พัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำให้มีความเข้มแข็งสามารถบริหารจัดการ
    น้ำกันเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำ

ตำแหน่ง
หน้าที่
ประธาน
  • ควบคุมการแบ่งปันน้ำให้สมาชิก
  • นำสมาชิกดูแลบำรุงรักษาซ่อมแซมระบบส่งน้ำ
  • ตัดสินข้อพิพาทด้านการใช้น้ำของสมาชิก
  • ควบคุมให้สมาชิกปฎิบัติตามข้อระเบียบข้อบังคับ
  • จัดประชุมสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ

รองประธาน

  • ทำหน้าที่แทนประธานเมื่อประธานไม่อยู่
  • ทำงานตามที่ประธานมอบหมาย

เลขานุการ

  • จดบันทึกการประชุม
  • จัดทำระเบียบสมาชิก
  • จัดทำทะเบียบวัสดุครุภัณฑ์

เหรัญญิก

  • เก็บค่าบำรุงรักษาระบบส่งน้ำ
  • รับผิดชอบการเงิน-การบัญชี

กรรมการบริหาร

  • ปิดเปิดประตูระบายทรายและประตูระบายตะกอนทราย
  • นำสมาชิกขุดลอกตะกอนหน้าฝาย
  • แบ่งปันการใช้น้ำให้กับสมาชิกในพื้นที่รับผิดชอบ
  • ควบคุมดูแลรักษาระบบส่งน้ำในพื้นที่รับผิดชอบ

ที่ปรึกษากลุ่มผู้ใช้น้ำ

  • ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำและการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม โดยคัดเลือกจากผู้น้ำท้องถิ่น จำนวน 1 – 3 คน

วิธีการใช้น้ำ

   เนื่องจากในเขตจังหวัดยะลามีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและลาดชัน โครงการชลประทานส่วนใหญ่จึงเป็นโครงการชลประทานประเภทท่อส่งน้ำ(ประปาภูเขา) มีวิธีการใช้น้ำและบำรุงรักษาให้มีประสิทธิภาพดังนี้

  • บริหารการใช้น้ำโดยคณะกรรมการบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำ
  • ให้ใช้น้ำจากถึงเก็บน้ำและจุดจ่ายน้ำเท่านั้น
  • ให้ใช้น้ำเพื่อนการอุปโภค-บริโภคเท่านั้น หากมีปริมาณน้ำเหลือเพียงพอจึงจะใช้น้ำเพื่อการเกษตร
  • หมั่นตรวจสอบและซ่อมแซมท่อส่งน้ำไม่ให้มีการรั่วซึม
  • เมื่อเปิดน้ำใช้เพียงพอตามความต้องการแล้ว ให้ปิดประตูน้ำทันที
  • ให้จัดเตรียมถังเก็บน้ำสำรองไว้ยามขาดแคลนน้ำด้วย
  • หากมีท่อส่งน้ำหลายสาย หรือเป็นท่อส่งน้ำสายยาวควรจัดส่งน้ำเป็นรอบเวร ตามข้อตกลงของกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำ
  • ต้องใช้น้ำกันอย่างมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นด้วยจึงจะทำให้ทุกคนได้ใช้น้ำอย่างเพียงพอซึ่งจะเป็นผลให้กลุ่มเข้มแข็ง
วิธีการบำรุงรักษา
  • ให้เปิดประตูระบายทรายบริเวณฝายทดน้ำในช่วงฝนตกหนักเพื่อป้องกันไม่ให้ทราบไหลเข้าไปในท่อส่งน้ำและทับถมบริเวณหน้าฝาย
  • ให้เปิดประตูระบายตะกอนทราย (Blow Off) อย่างน้อยปีละ  2  ครั้ง เพื่อระบายตะกอนทราบในท่อส่งน้ำป้องกันการอุดตัน
  • หมั่นตรวจสอบลิ้นระบายอากาศ (Air Valve) ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานตลอดเวลาเพื่อให้น้ำไหลสะดวกขึ้น
  • เมื่อเกิดการชำรุดเสียหายของท่อส่งน้ำหรืออาคารประกอบให้รีบดำเนินการซ่อมแซมทันที เพื่อป้องกันการเสียหาลุกลาม
  • หากระบบส่งน้ำได้รับความเสียหาเพียงเล็กน้อยให้กลุ่มดำเนินการซ่อมแซมกันเอง หากเกินกำลังของกลุ่มให้แจ้งอบต. จัดหางบประมาณซ่อมแซมให้ และหากเกินกำลังของ อบต. ให้แจ้งที่โครงการชลประทานยะลา เพื่อจัดหางบประมาณสนับสนุนต่อไป

แนวทางการพัฒนาองค์กรผู้ใช้น้ำให้มีความเข้มแข็ง

  • ให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการกิจกรรมของกลุ่ม
  • กิจกรรมที่ดำเนินการต้องเป็นไปตามความต้องการของสมาชิก
  • การตั้งกฎระเบียบของกลุ่มต้องเป็นมติของกลุ่มและได้รับการยอมรับจากสมาชิก
  • ต้องสร้างกองทุนในการบริหารองค์กรผู้ใช้น้ำ เช่นการเก็บค่าบำรุงรักษาน้ำเป็นรายเดือนหรือรายปี
  • การบริหารกิจกรรมขององค์กรต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้
  • ต้องมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้สมาชิกรับทราบอย่างสม่ำเสมอ
  • คณะกรรมการบริหารองค์กรผู้ใช้น้ำต้องทำงานเป็นทีม

ขั้นตอนการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำจังหวัดยะลา